หนังสือค้ำประกันแบบ STANDBY LETTERS OF CREDIT

นิยามของหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit หรือ SBLC

หนังสือค้ำประกันการชำระเงินจะออกโดยธนาคาร ในนามของลูกค้า และจะถูกใช้เสมือนว่าเป็น “การชำระเงินจากที่พึ่งสุดท้าย” ในกรณีลูกค้าไม่สามารถทำตามข้อสัญญาที่ทำไว้กับอีกหน่วยงานหนึ่งได้ หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit  จะถูกสร้างขึ้น โดยเปรียบเสมือนกับเครื่องหมายของความเชื่อถือในการทำธุรกิจ

และเป็นเครื่องพิสูจน์คุณภาพเครดิตของผู้ซื้อและความสามารถในการชำระเงินคืน ธนาคารที่เป็นผู้ออก Standby Letter of Credit  จะทำหน้าที่เป็นผู้รับประกันคุณภาพเครดิตของผู้ที่ร้องขอหนังสือค้ำประกัน จากนั้นก็จะทำการแจ้งไปยังธนาคารของผู้ที่ต้องการหนังสือค้ำประกัน (โดยทั่วไปแล้วหมายถึงผู้จำหน่ายหรือเจ้าหนี้) หนังสือค้ำประกันประเภทนี้ยังเรียกกันว่า “หนังสือค้ำประกันหนี้เสีย (Non-Performing)”

หนังสือค้ำประกัน Standby Letter of Credit  จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่มากพอที่จะมีการชำระเงินตามมาตรฐานในการทำสัญญา หนังสือค้ำประกัน  Standby Letter of Credit  ยังนิยมนำมาใช้ในการค้าระหว่างประเทศ เช่นการซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ผู้ขายจะร้องขอหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ซึ่งสามารถนำไปขึ้นเงินได้ทันทีที่ผู้ซื้อไม่สามารถชำระเงินตามกำหนดเวลาได้ ค่าใช้จ่ายในการขอหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit  โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 4-15% ของจำนวนเงินประกันต่อปี แต่หนังสือสามารถถูกยกเลิกได้ ถ้าผู้ซื้อหรือผู้กู้ยืม กระทำตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสัญญา

หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit  จะเป็นหนังสือค้ำประกันที่เป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งบริษัท RNR เป็นผู้จัดทำ และส่งให้กับบุคคลที่ท่านทำธุรกิจด้วย (ผู้ได้รับประโยชน์) และระบุว่าจะเป็นผู้ชำระเงินแทนในกรณีที่ท่านหรือบุคคลที่สามไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ เมื่อบริษัท RNR จ่ายเงินให้กับผู้ได้รับประโยชน์แล้ว ท่านค่อยมาชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้กับบริษัท RNR

หนังสือค้ำประกันแบบ  Standby Letter of Credit  และหนังสือค้ำประกันประเภทต่างๆที่ออกโดยบริษัท RNR
  • หนังสือค้ำประกันการประมูล (Bid Bond)
  • หนังสือค้ำประกันการปฏิบัติงานตามสัญญา (Performance Bond)
  • หนังสือค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment Guarantees)
  • หนังสือค้ำประกันการเบิกเงินประกันผลงาน (Retention Guarantees) หรือ หนังสือค้ำประกันการขอเงินล่วงหน้าคืนตามสัญญา (Advance Payment Holdback Under Contract Guarantees)
  • หนังสือค้ำประกันด้านการเงิน (Financial Guarantees)

สิทธิประโยชน์ที่สำคัญ

  • ช่วยปรับกระแสเงินสดของท่านให้ดีขึ้น
  • ลดหรือช่วยให้ผู้ที่มีชื่อในสัญญาไม่ต้องวางหลักประกันเงินสดหรือการรับรองความปลอดภัยอื่นๆ เพื่อรับรองการปฏิบัติตามที่ระบุในสัญญาให้แก่ผู้ได้รับประโยชน์
  • อาจจะช่วยให้ท่านไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับการซื้อสินค้าหรือบริการ ซึ่งจะทำให้คุณได้ใช้เงินทุนในวัตถุประสงค์อื่น ก่อนถึงครบกำหนดชำระ
  • หนังสือค้ำประกันการปฏิบัติงานหรือการยื่นซองประมูล อาจช่วยให้คุณชนะประมูล ด้วยการให้หลักประกันด้านการเงิน ในการชำระเงิน
ความสะดวก
  • บริษัท RNR มีความชำนาญด้านการวางโครงสร้างหนังสือค้ำประกันแบบ  Standby Letter of Credit  หรือหนังสือค้ำประกันประเภทอื่นๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงานธุรกิจ ขณะเดียวกันก็ช่วยปกป้องส่วนได้ส่วนเสียให้อยู่ในขอบเขตที่น่าพอใจ
  • บริษัท RNR ได้พัฒนาหนังสือค้ำประกันแบบ  Standby Letter of Credit  หรือหนังสือค้ำประกันประเภทอื่นๆมาแล้วหลายประเภท เพื่อการใช้งานในกรณีต่างๆ เราสามารถทำในรูปแบบที่ตรงกับความต้องการของท่าน โดยพิจารณาจากข้อกำหนดที่แน่นอน
เข้าถึงทักษะความรู้ด้านสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance Expertise)
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อการค้าระหว่างประเทศจะช่วยท่านในการวางโครงสร้าง, การลดหย่อน และให้ทักษะความรู้ด้านการเงินรวมถึงแนวทางที่เกี่ยวกับประเทศชั้นนำและความเสี่ยงในการค้าเพื่อสนับสนุนและช่วยกระตุ้นการดำเนินธุรกิจการค้าของท่าน
หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit คืออะไร?

หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit (บางครั้งเรียกว่า SLC หรือ LC) เป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่บอกว่า ธนาคารที่เป็นผู้ออกหนังสือจะชำระเงินทั้งหมดให้แก่ผู้ที่ได้รับประโยชน์ ในนามของลูกค้า ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพึงระลึกไว้ว่า หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit จะใช้ได้ เมื่อใดก็ตามที่ธนาคารที่ออกหนังสือมีการสัญญาว่าจะชำระเงินโดยไม่มีเงื่อนไขตามข้อผูกมัดที่มีอยู่ ความถูกต้องและการบังคับให้ทำตามข้อสัญญาของลูกค้านั้นหมายถึงว่าข้อสัญญาจะเป็นตัวกำหนดว่า ธนาคารจะเป็นผู้ชำระเงินไม่ว่าจะเกิดข้อขัดแย้งระหว่างลูกค้ากับผู้ได้รับผลประโยชน์หรือไม่การออกตราสารเครดิตเป็นธุรกรรมส่วนบุคคลและจะไม่มีผลในการออกหลักประกันการค้าใดๆ

ทำไมเราต้องมีหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ?

หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit มาจากการออกกฎหมายด้านการธนาคารของสหรัฐอเมริกา ที่ไม่อนุญาตให้สถาบันเครดิตของอเมริกาในการรับผิดชอบในสัญญารับประกันของบริษัทใดๆ (ประเทศอื่นๆยอมให้มีการใช้หนังสือค้ำประกันจากธนาคาร) เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงกฎด้านการธนาคารของอเมริกา ธนาคารในอเมริกาจึงจัดทำหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ออกมา ซึ่งเป็นไปตามกฎกติกาในการค้าระหว่างประเทศที่ใช้ L/C ในการชำระเงิน ในปีพ.ศ. 2541 หอการค้านานาชาติ ได้เพิ่มข้อปฏิบัติ ISP 98 เข้ามาเป็นกฎในการจัดทำหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit กฎดังกล่าวค่อยๆถูกนำมาใช้ อย่างไรก็ตาม หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit หลายๆประเภท ยังคงทำตามกฎเดิมของ ICC, กฎกติกาในการค้าระหว่างประเทศที่ใช้ L/C ในการชำระเงิน, การแก้ไขในปีพ.ศ. 2536 และ ICC Publication 500

ใครบ้างคือที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit?
    • ผู้สมัคร: หมายถึงลูกค้าของธนาคารผู้ซึ่งสมัครขอรับหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit จากธนาคาร ซึ่งจะต้องมีการวางหลักประกันเงินกู้ให้กับธนาคารหรือต้องมีเครดิตที่ดีพอจะให้ธนาคารออกตราสารให้ และจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการดำเนินการเพื่อออกตราสาร
    • ธนาคารผู้ออกหนังสือ: หมายถึงธนาคารของผู้สมัครที่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit
    • ผู้ได้รับผลประโยชน์: หมายถึงผู้ที่สนับสนุนการหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit
    • ธนาคารที่ให้ความเห็นชอบ: หมายถึงธนาคาร (โดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในฝั่งของผู้ได้รับประโยชน์) ที่เห็นชอบ (ยอมรับ) ในการชำระเงินให้กับผู้ได้รับประโยชน์ แทนที่จะเป็นธนาคารผู้ออกหนังสือ ผู้ได้รับประโยชน์จะจ่ายค่าดำเนินการให้กับธนาคารดังกล่าวเพื่อการอำนวยความสะดวก ธนาคารที่เห็นชอบจะเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกหนังสือและนำมาชำระให้กับผู้ได้รับประโยชน์อีกทอดหนึ่ง
    • ธนาคารที่เป็นผู้แนะนำ: หมายถึงธนาคารที่เป็นตัวแทนผู้ได้รับประโยชน์ ซึ่งอาจจะเป็นผู้รับหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ในนามของผู้ได้รับประโยชน์และเรียกเก็บเงินในนามของผู้ได้รับประโยชน์ เพื่อที่จะเป็นการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารกับธนาคาร ธนาคารที่เป็นผู้แนะนำจะทำงานให้กับผู้ได้รับประโยชน์ ในการเก็บตราสารในระบบการธนาคาร บางครั้งธนาคารที่เป็นผู้แนะนำกับธนาคารที่เห็นชอบอาจเป็นธนาคารเดียวกัน แต่ไม่เสมอไป
วัตถุประสงค์ในการใช้หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit คืออะไร?

โดยพื้นฐานแล้ว หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit จะมีวัตถุประสงค์เดียวกับหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร (Bank Guarantee) ซึ่งจะมีการชำระเงินเมื่อมีการทวงถาม โดยไม่มีการคัดค้านหรือการต่อสู้ใดๆ ตามหลักพื้นฐานของธุรกรรมระหว่างผู้สมัครและผู้ได้รับผลประโยชน์ และผู้ได้รับผลประโยชน์จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะรับหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ไว้หรือไม่

ประเภทของหนังสือค้ำประกันแบบ มีอะไรบ้าง?
  • ค้ำประกันการปฏิบัติงาน (Performance Standby) : ตราสารชนิดนี้จะช่วยสนับสนุนสัญญา ว่าจะทำการปฏิบัติงานแทนที่จะจ่ายเงิน รวมถึงวัตถุประสงค์ของการป้องกันการขาดทุนอันเกิดจากการผิดสัญญาในการปฏิบัติงานจนสำเร็จลุล่วง
  • ค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้า (Advance Payment Standby) : ตราสารชนิดนี้จะช่วยสนับสนุนสัญญาว่าจะรับผิดชอบในการชำระเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้สมัคร โดยผู้ได้รับประโยชน์จะเป็นผู้ชำระ
  • ค้ำประกันการยื่นซองประมูล/การประกวดราคา (Bid Bond/Tender) : จะช่วยสนับสนุนสัญญาว่าผู้สมัครจะทำตามข้อสัญญาถ้าชนะการประมูล
  • Counter Standby: ตราสารประเภทนี้ จะช่วยในการสนับสนุนการออกตราสารเฉพาะบุคคลหรือการทำสัญญาอื่นๆของผู้ได้รับประโยชน์จาก Counter Standby
  • ค้ำประกันการชำระตรง (Direct Pay Standby) : ตราสารนี้จะช่วยสนับสนุนการชำระเงิน เมื่อถึงเวลาในการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในสัญญาโดยไม่มีการผิดสัญญา และตราสารประเภทนี้ ยังใช้ในการชำระตรงตามที่ระบุไว้ในสัญญา ในขณะที่เงื่อนไขในการชำระเงินว่าจะต้องจ่าย
  • ค้ำประกันสัญญา (Insurance Standby) : จะเป็นการสร้างหลักประกันให้กับสัญญาของผู้สมัคร
  • ค้ำประกันเชิงพาณิชย์ (Commercial Standby) : เป็นตราสารที่มีการนำมาใช้มากที่สุด ซึ่งจะสนับสนุนสัญญาว่าผู้สมัครจะชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระเงิน
หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit สามารถโอนให้กับผู้อื่นได้หรือไม่?

การโอนสิทธิ์การรับเงินของหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit จะทำตามขั้นตอนดังนี้ – ผู้ได้รับประโยชน์สามารถที่จะโอนเงินประกันของหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit แต่การโอนสิทธิ์ประเภทนี้จะไม่สามารถโอนสิทธิ์ในการเป็น “ผู้เบิกเงิน” ได้และผู้ที่ได้รับประโยชน์จะเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถทำหน้าที่เป็น “ผู้เบิกเงิน” และสามารถทวงถามภายใต้ข้อตกลงของหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ถ้าไม่มีการระบุข้อตกลงเป็นอย่างอื่น หมายถึงว่าผู้ที่รับโอนสิทธิ์อาจเป็นผู้ได้รับเงินจากหนังสือค้ำประกัน แต่ในกระบวนการรับเงิน ผู้ได้รับประโยชน์จะต้องทวงถามก่อน และยังหมายถึงว่า ผู้ได้รับประโยชน์สามารถขายหนังสือค้ำประกันโดยการโอนสิทธิ์, ขายแบบลดราคา, ขายประโยชน์ที่จะได้รับจากหนังสือค้ำประกัน การโอนสิทธิ์รับเงินจะต้องมีการแจ้งให้ทางธนาคารรับทราบในการดำเนินการ ถ้าไม่มีการแจ้ง ธนาคารจะจ่ายให้กับผู้ได้รับประโยชน์แทนที่จะจ่ายให้กับผู้รับโอนสิทธิ์

การโอนหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ให้เป็นของผู้อื่น – หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit สามารถถูกโอนให้เป็นของผู้อื่นได้ ก็ต่อเมื่อมีการอนุญาตจากผู้ได้รับประโยชน์และธนาคารเป็นลายลักษณ์อักษร เราสามารถนำหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ไปขายได้หรือไม่?
ไม่มีตลาดสาธารณะใดในการซื้อขายหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit และหนังสือค้ำประกันประเภทนี้จะทำได้แค่โอนสิทธิ์การรับเงินให้กับผู้อื่น หรือโอนหนังสือค้ำประกันให้เป็นของผู้อื่นเท่านั้น (ดังที่อธิบายไว้ข้างต้น)

หนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ไม่มีหมายเลข CUSIP หรือ ISIN และหนังสือค้ำประกันแบบ Standby Letter of Credit ไม่ใช่หลักทรัพย์ที่จะนำมาซื้อขาย, ไม่ใช่ตราสารหนี้ในการค้า, หรือเงินสำหรับการลงทุนทำการค้า และไม่เป็นไปตามกฎที่คณะกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์กำหนดไว้